top of page
history-img-12.jpg

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย

คณะกรรมการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย

เรียกย่อว่า กกร.ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2520 โดยมติร่วมระหว่างสถาบันทั้ง 3 สถาบัน ซึ่งเป็นสถาบันหลัก

ภาคเอกชนในการส่งเสริมการค้า การอุตสาหกรรม และการเงินของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็น

ศูนย์รวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นเอกภาพของภาคธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางการค้าและเศรษฐกิจ และนำเสนอต่อคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) หรือเสนอต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ โดยตรงเพื่อประกอบการพิจารณา

ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ หรือกำหนดเป็นนโยบาย หรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติ

นับตั้งแต่ได้มีการรวมตัวกันของ 3 สถาบันภาคเอกชนเป็นคณะกรรมการร่วม (กกร.) ได้ทำหน้าที่เสนอ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา การค้า การอุตสาหกรรมและการเงินของประเทศ เป็นลำดับตลอดมา

จากโครงสร้างการจัดตั้งและการดำเนินงานของแต่ละสถาบันซึ่งมีลักษณะเป็น

แหล่งรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ผ่านองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองกันมาเป็นทอดๆ ตามลำดับ สายสัมพันธ์และสายการดำเนินงาน

สู่การพิจารณาของแต่ละสถาบันจนได้เป็นข้อยุติที่จะนำมา พิจารณาหาจุดยืนที่มีเอกภาพร่วมกันของ คณะกรรมการร่วมฯ (กกร.) อีกครั้ง เป็นขั้นตอนลำดับ

ท้ายสุดนั้น ปัญหาทุกปัญหาจะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึง

ผลได้ผลเสียต่อระบบธุรกิจส่วนใหญ่และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นหลัก จึงทำให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของภาคธุรกิจเอกชนมีความสำคัญและมีพลัง

พอเพียงที่จะได้รับการพิจารณาจากภาครัฐด้วยดี

history-img-2.jpg
light-trails-buildings.jpg

ดังจะเห็นได้จากการที่ภาครัฐได้พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามแนวข้อเสนอแนะของ 3 สถาบันภาคเอกชนไปแล้วเป็นจำนวนมากมาย ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมามีอัตราความเจริญเติบโตสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างรวดเร็ว

นอกจากจะได้ทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีเอกภาพและมีความสำคัญต่อ รัฐบาลแล้ว คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันยังมีการพิจารณาจุดยืนร่วมกัน ในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่จะมีการหยิบยกขึ้นพิจารณาในการประชุมร่วมกับองค์การ หรือสถาบันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ซึ่งมี ความจำเป็นต้องมีเอกภาพในหลักการและ เหตุผลรวมทั้งวิธีการในการเสนอความ คิดเห็นข้อเสนอหรือข้อต่อรองในการประชุมเจรจา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายไทย ไว้ให้มากที่สุด

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการ

ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและอย่างจริงจังระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการ

พัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของ 3 สถาบัน จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า

และ เพิ่มพูนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ตลอดไป

วัตถุประสงค์ และหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

history-img-3.jpg

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

  1. เพื่อให้เป็นแกนกลางประสานความร่วมมือกันระหว่างสถาบันทางเศรษฐกิจภาคเอกชนกับหน่วย งานต่างๆ ของภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

  2. เป็นศูนย์รวมการพิจารณาปัญหาทางธุรกิจทุกสาขา

  3. เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการเสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นเอกภาพ ในการ แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาล

  4. เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการประชุมเจรจาปัญหาทางการค้าและเศรษฐกิจ และการร่วมมือกันทาง การค้าและเศรษฐกิจกับองค์การต่างประเทศทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค

หน้าที่

  1. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาคเศรษฐกิจของรัฐบาล

  2. ประสานงานระหว่างสถาบันภาคเอกชนเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความสอดคล้องกับกฎระเบียบและ แนวนโยบายของรัฐบาล

  3. พิจารณาข้อยุติปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนโดยคำนึงผลประโยชน์ส่วน รวมของประเทศเป็นสำคัญ และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อภาครัฐบาล

  4. แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ (กรอ.) ในฐานะตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนรวมทั้งการเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการอื่นๆ ของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น

  5. พิจารณาปัญหาและจุดยืนของภาคเอกชนไทยเพื่อการเข้าร่วมประชุมเจรจาปัญหาการค้าและ เศรษฐกิจกับองค์การต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนไทย

  6. ให้ความร่วมมือกับภาครัฐบาลในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจของประเทศเมื่อ  ได้รับการร้องขอตามความเหมาะสม

cityscape-twilight-bangkok-thailand.jpg

กิจกรรม

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กกร. จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ดังนี้

  • สภาธุรกิจ ABAC (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ GMS-BC (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ IMT-GT (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ ASEAN BAC (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ GMS-FRETA (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ MEKONG (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ EABC (ประเทศไทย)

  • สภาธุรกิจ ACMECS (ประเทศไทย)

เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศต่าง กกร. จึงได้จัดตั้งสภาธุรกิจ ดังนี้

สภาธุรกิจระดับภูมิภาค
  • สภาธุรกิจ ไทย - ตะวันออกกลาง

  • สภาธุรกิจ ไทย - แอฟริกา

  • สภาธุรกิจ ไทย - ลาตินอเมริกา

  • สภาธุรกิจ ไทย - สหภาพยุโรป

สภาธุรกิจระดับทวิภาคี
  • สภาธุรกิจ ไทย - เวียดนาม

  • สภาธุรกิจ ไทย - ฟิลิปปินส์

  • สภาธุรกิจ ไทย - ปากีสถาน

  • สภาธุรกิจ ไทย - จีน

  • สภาธุรกิจ ไทย - แอฟริกาใต้

  • สภาธุรกิจ ไทย - ลาว

  • สภาธุรกิจ ไทย - สิงคโปร์

  • สภาธุรกิจ ไทย - ตุรกี

  • สภาธุรกิจ ไทย - อินเดีย

  • สภาธุรกิจ ไทย - อิยิปต์

  • สภาธุรกิจ ไทย - เมียนมา

  • สภาธุรกิจ ไทย - อินโดนีเซีย

  • สภาธุรกิจ ไทย - ออสเตรเลีย / นิวซีแลนด์

  • สภาธุรกิจ ไทย - รัสเซีย

  • สภาธุรกิจ ไทย - อิหร่าน

  • สภาธุรกิจ ไทย - กัมพูชา

  • สภาธุรกิจ ไทย - มาเลเซีย

  • สภาธุรกิจ ไทย - บังคลาเทศ

  • สภาธุรกิจ ไทย - ชิลี

มูลนิธิคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (สํานักงานใหญ่)
เลขที่ 150 ถนนราชบพิธ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร

กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 02-018-6888 ต่อ 4220, 4230
สายตรง : 02-622-2179
โทรสาร : 02-622-2184
อีเมล์ : info@jsccib.org
เลขประจําตัวผู้เสียภาษี : 0993000461851

history-img-4.jpg
bottom of page
Free Counter