top of page
back-young-business-man-standing-with-suitcase-airport-waiting-flight-xa.jpg

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ APEC

apec_link.jpg
QRcodeLine.jpg
LogoAppVirture_ABTC2.jpg
image-apec1.png

APEC Business Travel Card (ABTC)

คำเตือน

ผู้ถือบัตร ABTC ต้องใช้คู่กับหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดาเล่มที่ท่านได้ใช้เป็นเอกสารยื่นขอ ใช้บัตร ABTC เท่านั้น หากท่านนำบัตร ABTC

ไปใช้คู่กับหนังสือเดินทางเล่มอื่น เช่น หนังสือ เดินทางราชการ จะเป็นการใช้ในทางที่ผิดต่อกฎหมายไทยว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง ราชการ หมวด 2 ข้อ 12 กล่าวคือ “ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำหนังสือเดินทางไปใช้ใน การเดินทางส่วนตัวมิได้” และยังผิดต่อวัตถุประสงค์ของบัตร ABTC

อีกด้วย คำเตือนดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป

การเดินทางเข้าเขตเศรษฐกิจเอเปคต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเท่านั้น หากมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเป็น อย่างอื่น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของเขตเศรษฐกิจนั้นๆ ก็อาจปฏิเสธไม่ให้ใช้บัตร ABTC ในการเดินทางครั้งนั้นๆ ได้

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปคคืออะไร

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (ABTC) เป็นเสมือนวีซ่า ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถใช้ควบคู่กับหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกเอเปค

ที่ร่วมโครงการนี้ ในการติดต่อธุรกิจระยะสั้นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าอีก

full-shot-man-traveling.jpg

บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (ABTC) เกิดขึ้นมาจากความคิดริเริ่มของ

ที่ประชุมกลุ่ม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิค (Asia - Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางติดต่อระหว่าง นักธุรกิจของสมาชิกเอเปค

บัตรเดินทางนี้จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการเดินทาง ในส่วนที่ เกี่ยวกับการขอวีซ่าและขั้นตอนในการเข้าเมือง จนถึงปัจจุบันนี้ (1 สิงหาคม 2560) มีสมาชิกเอเปค จำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ เข้าร่วมในโครง การบัตรเดินทาง ABTC ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน เวียดนาม เม็กซิโก และรัสเซีย

อนึ่ง สหรัฐฯ ได้เข้าร่วมโครงการ ABTC แล้วโดยเป็นสมาชิกชั่วคราว กล่าวคือ ไทย และ สหรัฐฯ จะยังไม่มีการให้ pre - clearance แก่นักธุรกิจของกันและกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือ บัตร ABTC ของไทยประสงค์จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ

จะต้องได้รับวีซ่าเข้าสหรัฐฯก่อนแต่ สามารถใช้ช่องทาง ABTC lane

ในท่าอากาศยานนานาชาติของสหรัฐฯ เพื่อรับการอำนวย ความสะดวกในการ

เข้าเมือง โดยแสดงบัตร ABTC แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ การใช้

บัตร ABTC เดินทางเข้าสหรัฐฯ เป็นการรับการอำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองเท่านั้น มิใช่การยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ

กรณีของประเทศแคนาดานั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นมา แคนาดาเริ่มให้

ผู้ที่ถือ บัตร ABTC สามารถเดินทางเข้าประเทศแคนาดาโดยใช้บริการของเคานท์เตอร์พิเศษ ณ สนามบินนานาชาติ 8 แห่ง คือ Vancouver International Airport, Toronto Pearson International Airport (Terminal 1 and 2), Ottawa Macdonald - Cartier International Airport, Montreal - Pierre Elliot Trudeau International Airport, Halifax Robert L. Stanfield International Airport, Calgary International Airport, Winning James Armstrong Richardson International Airport, และ Edmonton International Airport

การอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าแคนาดาของผู้ถือบัตร ABTC ผู้ซึ่ง

มีคุณสมบัติ ตามเงื่อนไขการขอวีซ่าเข้าประเทศแคนาดา ในขณะที่แคนาดากำลังจะเข้าร่วมในโครงการ ABTC โดยขั้นตอนที่สองจะดำเนินการเพื่อให้นักธุรกิจแคนาดาสามารถเดินทางภายในภูมิ ภาคเอเปค ให้ได้รับประโยชน์ความสะดวกรวดเร็วพิธีการทางเข้า - ออก ที่สนามบิน ดังนั้นการ เดินทางเข้าประเทศแคนาดาของผู้ถือบัตร ABTC ยังคงต้องดำเนินการขอวีซ่าจากสถานทูต แคนาดา ก่อนการเดินทาง

สำหรับกรณีเร่งด่วน

ผู้ยื่นคำร้องสามารถขอให้พิมพ์บัตรชั่วคราว หรือ Interim Card เมื่อได้รับการ pre - clearance จากเขตเศรษฐกิจ priority ของตน ผ่านระบบ ABTC eLodgment ตามขั้นตอนการขอออกบัตรชั่วคราว โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์บัตร ABTC ซึ่งถือว่าเป็น Interim card ใบละ 1,000 บาท (นอกเหนือจากค่าธรรมเนียม บัตร ABTC รายละ 8,500 บาท) และเมื่อได้รับ pre - clearance ครบ 19 เขตเศรษฐกิจแล้ว ระบบ ABTC ก็จะสั่งพิมพ์ บัตร ABTC ซึ่งเป็นบัตรจริงเป็นใบที่สองให้โดยอัตโนมัติ โดยบัตรชั่วคราวก็จะถูกยกเลิกทันที ผู้ยื่นคำร้องจะต้องนำบัตรชั่วคราวมาเปลี่ยน เพื่อที่จะนำบัตรที่ได้รับ pre - clearance ครบ 19 เขตเศรษฐกิจไปใช้แทน

image-apec2.jpg

ยื่นใบสมัครเพื่ออะไร

การยื่นใบสมัครเพื่อขอรับบัตร ABTC คือ การขออนุญาตหรือขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกเอเปคที่ร่วมในโครงการ เพื่อเดินทางไปติดต่อธุรกิจระยะสั้น ข้อมูลของผู้ยื่นคำ ร้องที่กรอกในใบสมัครจะถูกส่งไปยังสมาชิกที่ร่วมในโครงการ ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบประวัติ และหากการตรวจสอบประวัติผ่าน ผู้สมัครก็จะได้รับบัตร ABTC ที่สามารถใช้เสมือนเป็น วีซ่า เพื่อเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกที่ร่วมในโครงการ แบบเดินทางเข้าได้หลายครั้ง (Multiple Entry) ภายในอายุของบัตร โดยจะได้รับอนุญาตให้พำนักได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

ลักษณะของบัตรเดินทางฯ

บัตร ABTC มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต มีอายุ 5 ปี โดยบนบัตร จะมี รูปถ่ายและลายเซ็นของ ผู้ถือบัตร ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขหนังสือเดินทาง วันหมดอายุของบัตร และชื่อ สมาชิกเอเปคที่ผู้ถือบัตร ได้ผ่านการตรวจสอบประวัติแล้ว

และสามารถเดินทางเข้าได้

ผู้ถือบัตรเดินทางฯ จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

  • สามารถเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกที่ร่วมในโครงการ ที่มีชื่อปรากฏอยู่บนด้านหลังของ บัตรเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้นได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขอวีซ่าแต่ละครั้ง

  • ขั้นตอนการเข้าเมืองสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยผู้ถือบัตร จะได้รับอนุญาตให้เข้าช่องทางพิเศษ สำหรับสมาชิกเอเปค (APEC Lane) ซึ่งตั้งอยู่ตามท่าอากาศยานนานาชาติของสมาชิก เอเปค

image-apec3.jpg

วิธีการใช้บัตรเดินทางฯ

  • ในการเดินทาง ผู้ถือบัตร ABTC จะต้องใช้ร่วมกับหนังสือเดินทางซึ่งมีหมายเลขเดียว กันกับที่ปรากฏบนบัตร ABTC เท่านั้น

  • ใช้สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางไปติดต่อธุรกิจในระยะสั้นเท่านั้น หากมีวัตถุ ประสงค์ในการเดินทางเป็นอย่างอื่น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของเขตเศรษฐกิจนั้นๆ ก็อาจปฏิเสธไม่ให้ใช้บัตร ABTC ในการเดินทางครั้งนั้นๆ ได้

ผู้ใดมีสิทธิสมัครขอรับบัตรเดินทางฯ

image-apec4.jpg
image-apec5.jpg

นักธุรกิจผู้ถือหนังสือเดินทางไทย ซึ่งต้องการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ และเป็นผู้ที่ไม่เคย ต้องโทษคดีทางอาญา หรือ มิเคยถูกปฏิเสธในการเข้าเมืองจากดินแดนของสมาชิกที่ร่วมใน โครงการ

นอกจากนี้ผู้ยื่นสมัครขอบัตร ABTC จะต้องสมัครในนามบริษัทหรือหน่วยงานที่เป็นสมาชิก หอการค้าไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ สมาคมธนาคารไทย เท่านั้น

image-apec6.png

ขั้นตอนการสมัคร

เอกสารประกอบการสมัครสำหรับผู้ยื่นคำร้อง

  1. ผู้ยื่นคำขอต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานที่เป็นสมาชิกของ 3 สถาบันและยังคงความเป็นสมาชิกภาพ หากขาดการเป็นสมาชิกภาพใบสมัครของท่านจะถูกปฏิเสธ และเสียค่าดำเนินการ 1,500 บาท

  2. ไฟล์หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน และฉบับอื่นๆ ที่ใช้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นไฟล์สี (PDF) ไฟล์สำเนาหนังสือเดินทางไทยฉบับปัจจุบัน เพื่อแสดงหน้าที่มีการตรวจลงตราการเดินทางไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก (หน้าที่มีประวัติวีซ่าทั้งหมด)

    กรณีที่อายุหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอมีอายุน้อยกว่า 5 ปี บัตร ABTC ที่จะได้รับจะมีอายุน้อยกว่า 5 ปี คือบัตร ABTC จะมีอายุเท่ากับหนังสือเดินทางที่เหลือ หากภายหลังผู้ถือบัตรไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ และมาแจ้งทำบัตร (กรณีเปลี่ยนหนังสือเดินทางผ่านระบบ ABTC eLodgment จึงจะได้รับการเพิ่มอายุการใช้งานของบัตรในส่วนที่ได้ไม่ครบ 5 ปีในครั้งแรก
    *** หนังสือเดินทางต้องมีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี

  3. ไฟล์ลายเซ็น ขาวดำ (JPG)

    • ลายเซ็นต้องเหมือนกับที่ปรากฏในหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน

    • ลายเซ็นต้องเป็นสีดำและฉากหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น

    • ลายเซ็นต้องคมชัด ไม่แตก หรือสีจาง

    • ขนาดลายเซ็นต้องเป็น 450 x 150 pixels

4. ไฟล์รูปถ่าย (JPG)
    o การแต่งกาย: แต่งกายสุภาพ ไม่ควรใส่เสื้อยืด และไม่ควรใส่เสื้อสีขาว (เนื่องจากจะกลืนกับพื้นหลัง)
    o เป็นรูปถ่ายที่ชัดเจน ห้ามใช้รูปถ่ายสติ๊กเกอร์และห้ามรีทัชภาพ
    o ลักษณะรูปเป็นแบบเดียวกับรูปถ่ายในหนังสือเดินทาง หรือรูปถ่ายสำหรับใช้ยื่นขอวีซ่าประเทศจีน
    o ขนาดรูปถ่ายต้องเป็น 300 x 400 pixels รูปสี ถ่ายปัจจุบัน มีอายุไม่เกิน 3 เดือน ฉากหลังต้องเป็นสีขาว          เท่านั้น​

ตัวอย่าง
ex_sing.jpg
ex_pic.png

5. ไฟล์หนังสือรับรองการทำงานที่มีรายละเอียดตำแหน่ง เงินเดือน และเวลาเริ่มต้นการทำงานกับ

    บริษัท/องค์กร (PDF) โดยระบุวัตถุประสงค์เพื่อการสมัครบัตร APEC Business Travel Card

    ของหน่วยงานนั้น ๆ
    o สำหรับผู้สมัครที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท สามารถใช้สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแทนได้ (PDF)
    o สำหรับผู้สมัครที่มีชื่อเป็นกรรมการของบริษัท สามารถใช้สำเนาหนังสือรับรองบริษัทแทนได้ (PDF)
6. ไฟล์สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สำหรับผู้ที่มีรายชื่อในบัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัท
7. ไฟล์หนังสือรับรองบริษัท (PDF)
    a. ต้องเป็นหนังสือรับรองบริษัท ที่ออกโดยกรมทะเบียนธุรกิจการค้า และต้องมีอายุเอกสารไม่เกิน 1 ปี
    b. ต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัทหรือองค์กรนั้น
    c. ต้องเป็นไฟล์หนังสือรับรองบริษัท ครบทุกหน้า ที่เป็นภาพสี (PDF)
8. ไฟล์ใบแจ้งยอดรายการบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Saving Account Statement)
     a. ต้องเป็นใบแจ้งยอดรายการบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Saving Account Statement) ของผู้สมัครย้อนหลัง 6 เดือน
     b. ต้องเป็นใบแจ้งยอดที่ผ่านการรับรองจากธนาคาร คือ มีลายเซ็นและตราประทับของธนาคาร หรือ เป็นใบแจ้งยอดที่เป็นรูปแบบมาตรฐานของธนาคารที่ออกโดย   ระบบ เช่น การขอใบแจ้งยอด online
     c. ต้องเป็นไฟล์ที่เป็นภาพสี (PDF) เท่านั้น
9. ไฟล์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) (PDF)
      a. ต้องเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทวิ 50 ที่ส่งกรมสรรพากร ที่ออกโดยบริษัทหรือองค์กรที่ผู้สมัครระบุในใบสมัคร หรือ เป็นหนังสือสำเนา                    ภงด.90/91 ที่ผู้สมัครยื่นเสียภาษีต่อกรมสรรพากรในปีที่ผ่านมา โดยต้องมีชื่อบริษัทหรือองค์กร ที่ระบุในใบสมัครด้วย
      b. ต้องเป็นไฟล์ที่เป็นภาพสี (PDF) เท่านั้น
10. ไฟล์รูปบัตร ABTC ใบเก่า (กรณีที่เคยมีบัตรแล้ว) ต้องเป็นไฟล์ที่เป็นภาพสี (PDF)
11. ค่าธรรมเนียมการสมัคร 8,500 บาท​

ยื่นสมัครได้ที่

วิธีใช้งาน

กรณีคุณสมบัติไม่ผ่านการพิจารณา

กรณีที่ผู้ยื่นขอบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค และไม่ผ่าน

การพิจารณาของกระทรวงการ ต่างประเทศ (กรมการกงสุล) นั้น สำนักงานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะขอหักค่าธรรมเนียมสมัคร จำนวน 1,500 บาท (จาก ค่าธรรมเนียม 8,500 บาท) เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เริ่มกำหนดใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

ขั้นตอนการตรวจสอบสถานภาพการอนุมัติ

เมื่อผู้ยื่นคำร้องได้รับอีเมลแจ้ง Application Number จากระบบแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะของการ pre-clearance ของเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมโครงการได้ที่ 

https://www.abtc-aps.org/abtc-core/status/check.html

  1. เลือก Economy of Application เป็น Thailand

  2. Application Number หากจำไม่ได้ สามารถดูได้จากใน https://www.abtc-jsccib.org โดยในรายละเอียดสรุปสมัครบัตร ให้คลิกที่ "ดูใบสมัคร" จะปรากฎใบสมัคร และ Application Number กรอก Application Number จากนั้นคลิก Search หรือ กด Enter

การทำบัตรใหม่

  1. เลือก Economy of Application เป็น Thailand

  2. Application Number หากจำไม่ได้ สามารถดูได้จากใน https://www.abtc-jsccib.org โดยในรายละเอียดสรุปสมัครบัตร ให้คลิกที่ "ดูใบสมัคร" จะปรากฎใบสมัคร และ Application Number กรอก Application Number จากนั้นคลิก Search หรือ กด Enter

การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

สำหรับผู้ถือบัตร ABTC ที่มีการเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทางเนื่องจากหมดอายุ เล่มเต็ม ชำรุด ก่อนบัตร ABTC หมดอายุ ซึ่งจะทำให้บัตร ABTC ที่ถืออยู่ ใช้งานไม่ได้ เพราะเลขที่หนังสือเดินทางไม่ตรงกับหมายเลขหนังสือเดินทางที่ปรากฎในบัตรที่ถืออยู่ สามารถยื่นคำร้องในการขอเปลี่ยนหนังสือเดินทาง ผ่านระบบ ABTC eLodgment ตามขั้นตอนการขอเปลี่ยนหนังสือเดินทาง และบัตร ABTC ที่จะได้รับจะมีวันหมดอายุเท่าเดิม เอกสารที่ต้องใช้ประกอบด้วย

1. Application Number (กรณีที่ไม่ทราบ Application Number โปรดติดต่อ กกร.)

2. เลขบัตรประชาชน

3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีบริษัท

4. เลขที่หนังสือเดินทางเล่มใหม่ วันที่ออกหนังสือเดินทาง และวันที่                   หนังสือเดินทางหมดอายุ

5. ไฟล์หนังสือเดินทางเล่มใหม่

6. ไฟล์รูปบัตร ABTC

7. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

image-apec8.jpg
กรณีบัตรสูญหาย

กรณีบัตรสูญหาย สามารถยื่นคำร้องในการขอแจ้งบัตรหาย ผ่านระบบ ABTC eLodgment ตามขั้นตอนการแจ้งบัตรหาย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบด้วย :

1. Application Number (กรณีที่ไม่ทราบ Application Number โปรดติดต่อ กกร.)

2. เลขบัตรประชาชน

3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีบริษัท

4. ไฟล์ใบแจ้งความที่มีการระบุ ชื่อ - นามสกุล หมายเลขบัตร ABTC หมายเลขหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุของบัตรที่สูญหาย ลงในใบแจ้งความ

5. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

Virtual ABTC

LogoAppVirture ABTC.png

คือ Application ที่ใช้แทนบัตร ABTC ในการเดินทาง ซึ่งขณะนี้ใช้เดินทางได้ 17 เขตเศรษฐกิจที่มีการใช้ Virtual ABTC แล้ว ได้แก่ Australia, Brunei Darussalam, Chile, Chinese Taipei,Hong Kong, Indonesia, Japan, Korea, Malaysia, Mexico, New Zealand, Papua New Guinea, Peru, Philippines, Singapore, Viet Nam, Thailand

(China จะเริ่มใช้ได้ 1 May 2023 ) นอกเหนือจากนี้อาจจะใช้ Virtual ABTC ไม่ได้

ผู้สมัครสามารถค้นหาและติดตั้งแอปพลิเคชั่น Virtual APEC Business Travel Card หรือ ABTC ได้จาก Google Play Store และ Apple App Store กรอกข้อมูลของผู้ถือบัตร ได้แก่ อีเมลล์ หมายเลขหนังสือเดินทาง

วันเกิด และ Application Number ทั้งนี้การออกบัตรชั่วคราว ยังสามารถขอดำเนินการได้เหมือนเดิม เพื่อใช้ในการเดินทางสำหรับทุกเขตเศรษฐกิจที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 สัปดาห์ และมีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท สามารถยื่นเรื่อง ได้ที่

https://www.abtc-jsccib.org

Download on the App Store
Get it on Google Play
MobiePhone003.png
ABTC Appicaion

ข้อควรระวัง

icon-apec15.png

บัตรเดินทาง ABTC นี้เป็นเสมือนวีซ่า ผู้ถือบัตรได้รับอนุมัติ วีซ่าธุรกิจเดินทางเข้าได้หลายครั้ง (Multiple Entry Visa) จากเขตเศรษฐกิจตามที่ระบุไว้หลังบัตรแล้ว ดังนั้นผู้ถือบัตร ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าอีก หากจะเดินทางไปยังเขตเศรษฐกิจ เหล่านั้น เพียงแต่ต้องใช้บัตร ABTC ควบคู่กับหนังสือเดิน ทางเล่มที่ใช้ยื่นขอบัตร ABTC เท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ระเบียบการเข้าเมืองของเขตเศรษฐกิจเอเปคต่างๆ สำหรับนักธุรกิจต่างชาติ และข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ABTC เช่น

เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วม โครงการ และท่าอากาศยานที่สามารถใช้บัตร ABTC เดินทางเข้าได้ เป็นต้น ที่ www.apec.org ในกรณีที่ประสงค์จะให้ออกบัตร Interim Card ยื่นคำร้องจะต้องเข้า ไปดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.abtc-jsccib.org เท่านั้น ผู้ถือบัตร Interim Card สามารถใช้ ช่องทาง APEC Lane ที่ท่าอากาศยานได้แม้ว่าจะยังไม่ได้รับ pre - clearance จากเขต เศรษฐกิจนั้นๆ แต่จะต้องได้รับการตรวจลงตรา (visa) ที่เหมาะสมก่อนเดินทางเข้า

ติดต่อสอบถาม

logo-apec4.png

สำนักงานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

ติดต่อ : ยุวดี แก้วคูนอก, ศิวพร เกิดประทีป
โทรศัพท์ : 02-092-8888
อีเมล : abtc@jsccib.org

logo-apec1.png

หอการค้าไทย/สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ติดต่อ : เขมินทรา ไตรลาภวิฒิ
โทรศัพท์ : 02-018-6888 ต่อ 3610
อีเมล : khemintra.tr@thaichamber.org

logo-apec2.png

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ติดต่อ : ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
โทรศัพท์ : 02-345-1145 , 1453 กด 4
อีเมล : counterservices@fti.or.th

logo-apec3.png

สมาคมธนาคารไทย

ติดต่อ: อนุรักษ์ เรือนพันธ์
โทรศัพท์ : 02-558-7504
โทรสาร : 02-558-7509
อีเมล : anurak@tba.or.th

 

ติดต่อ : ธัญญาพร ผดุงการ
โทรศัพท์ : 02-558-7507
โทรสาร : 02-558-7509
อีเมล : tanyaporn@tba.or.th

logo-apec5.png

กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ติดต่อ : ณภัทร เรืองเดชา
อีเมล : abtcthai@gmail.com

bottom of page
Free Counter